เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 5. สังสัฏฐวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์
ของอุปาทานเกิดระคนกับสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือ
และไม่เป็นอารมณ์ของอุปาทาน เพราะเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับ
ขันธ์ 1 ที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือและไม่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน ฯลฯ ขันธ์ 2 เกิดระคนกับขันธ์ 2 (1) (ย่อ)

สังขยาวาร
[48] เหตุปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ
อธิปติปัจจัย มี 2 วาระ ฯลฯ
อาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ ฯลฯ
วิปากปัจจัย มี 2 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย มี 3 วาระ
(พึงนับเหมือนในกุสลติกะ)
อนุโลม จบ

2. ปัจจยปัจจนียะ
นเหตุปัจจัย
[49] สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทานเกิดระคนกับสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือ
และเป็นอารมณ์ของอุปาทาน เพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับ
ขันธ์ 1 ที่เป็นอเหตุกะซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิยึดถือและเป็นอารมณ์
ของอุปาทาน ฯลฯ ขันธ์ 2 เกิดระคนกับขันธ์ 2 ในปฏิสนธิขณะที่เป็นอเหตุกะ
ฯลฯ (1)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :813 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ติกปัฏฐาน] 4. อุปาทินนติกะ 5. สังสัฏฐวาร
สภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทานเกิดระคนกับสภาวธรรมที่กรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่
เป็นอารมณ์ของอุปาทานเพราะนเหตุปัจจัย ได้แก่ ขันธ์ 3 เกิดระคนกับขันธ์ 1
ที่เป็นอเหตุกะซึ่งกรรมอันประกอบด้วยตัณหาและทิฏฐิไม่ยึดถือแต่เป็นอารมณ์ของ
อุปาทาน ฯลฯ ขันธ์ 2 เกิดระคนกับขันธ์ 2 โมหะที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่
สหรคตด้วยอุทธัจจะเกิดระคนกับขันธ์ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉาและที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ
(1) (ย่อ)
นเหตุปัจจัย มี 2 วาระ
นอธิปติปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ
นวิปปยุตตปัจจัย มี 3 วาระ (ย่อ)
ปัจจนียะ จบ

3. ปัจจนียานุโลมปัจจนียะ
นอธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี 3 วาระ ฯลฯ
นวิปปยุตตปัจจัย " มี 3 วาระ

4. ปัจจยปัจจนียานุโลม
อารัมมณปัจจัย กับนเหตุปัจจัย มี 2 วาระ ฯลฯ
อวิคตปัจจัย " มี 2 วาระ
สังสัฏฐวาร จบ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 40 หน้า :814 }